Search
Close this search box.

เรียนระบบทวิภาคี สู่การทำงานจริง

Kru-Sanit.com thumbnail
Facebook
Twitter
LinkedIn

การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี หมายถึง การจัดการศึกษาร่วมกันโดยหน่วยงานสองฝ่าย (ทวิ) ซึ่งในที่นี้หมายถึง สถานศึกษาฝ่ายหนึ่ง กับ สถานประกอบการ อีกฝ่ายหนึ่ง ผู้เรียนอาชีวศึกษาที่เลือกศึกษาในระบบทวิภาคีจะมีสถานภาพ 2 สถานะในบุคคลเดียวกัน คือ เป็นนักศึกษาของสถานศึกษา และในขณะเดียวกันก็เป็นพนักงานฝึกหัดของสถานประกอบการที่ร่วมมือกับสถานศึกษาในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี

เรียนอย่างไร

การเรียนในระบบทวิภาคีนั้น นักศึกษาหรือพนักงานฝึกหัดจะต้องใช้เวลาร้อยละ 50 ของเวลาเรียนทั้งหมดของหลักสูตรเพื่อเรียนในรายวิชาสามัญ รายวิชาชีพพื้นฐาน ตลอดจนฝึกปฏิบัติการเบื้องต้นในสถานศึกษา และอีกร้อยละ 50 ฝึกปฏิบัติการวิชาชีพในสถานประกอบการ โดยมีครูฝึกที่เป็นพนักงานประจำของสถานประกอบการเป็นผู้ฝีกสอนและประเมินผล ซึ่งแต่ละสถานประกอบการก็จะมีองค์ความรู้ที่เป็นจุดเน้นแตกต่างกันไป ผู้เรียนจะได้เรียนรู้แนวปฏิบัติพื้นฐานทุกเรื่องในธุรกิจนั้น ๆ เป็นอย่างดี

ทำไมต้องเรียน

ผู้เรียนจะได้รับการฝึกฝนเฉพาะทาง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตลอดจนมีฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และทันต่อเทคโนโลยี ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ ในระหว่างฝึกปฏิบัติการวิชาชีพในสถานประกอบการนั้นยังจะได้รับเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง และสวัสดิการอื่น ๆ จากสถานประกอบการในฐานะพนักงานฝึกหัดตามที่ได้ตกลงกันไว้ รวมทั้งมีโอกาสที่จะได้บรรจุเป็นพนักงานประจำทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษา และสถานประกอบการบางแห่งยังมีนโยบายมอบทุนสนับสนุนให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นต่อไปอีก ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและอนาคตการทำงานอย่างมาก

ใครที่กำลังมองหาอนาคตที่แน่นอน ต้องการรายได้ระหว่างเรียน  โดยเฉพาะผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับ ปวช. หรือ มัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาในระบบทวิภาคีนั้น สามารถตอบโจทย์ได้อย่างแน่นอน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี

Photo by Maxime Agnelli on Unsplash

Nathan McBride

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เมื่ออนาคตไล่ล่าเรา

สำนักงานจัดหางานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดอบรมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแนะแนวให้กับครูแนะแนวในจังหวัด เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567

ฉากทัศน์สังคมการทำงานของไทยก่อนปี 2030

“ฉากทัศน์สังคมการทำงานก่อนปี 2030” กองส่งเสริมการมีงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ณ โรงแรม แกรนด์ ฟอร์จูน รัชดาภิเษก วันที่ 14 มีนาคม 2567